Categories
บทความ

ยุคหิน มนุษย์ใช้บรรจุภัณฑ์ เพื่อจุดประสงค์ ใด

ประวัติความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์ไทย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
การค้นพบการใช้บรรจุภัณฑ์ในอดีต จากหลักฐานเชื่อว่ามนุษย์หินเป็นชนกลุ่มแรกที่ค้นพบจากความบังเอิญ โดยการนำดินเหนียวมาปั้นและม้วนยืดเป็นเส้นยาวแล้วขดวางซ้อนกันเป็นวงกลมตามแนวความสูงเพื่อใช้เป็นภาชนะ เมื่อนำไปเผาด้วยฟืนทำให้ได้ภาชนะสำหรับบรรจุน้ำที่ไม่รั่วซึม จากความบังเอิญจึงกลายเป็นจุดกำเนิดบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้ต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้พัฒนามาตามลำดับ จนทำให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมากมากมาย

สำหรับประเทศไทย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ หรือมีการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ในวิถีชีวิต ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกเป็นประโยคหนึ่งที่จารึกว่า “ใครใคร่ค้า ค้า” และ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า มีการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ในวิถีชีวิต อันได้แก่ ข้องไม้ไผ่สำหรับใส่ปลา สานตะกร้าใช้ใส่พืชผัก การผลิตหม้อเดินเผาสำหรับหุงต้มซึ่งในสมัยสุโขทัยนับได้ว่ามีชื่อเสียงด้านเครื่องปั้นดินเผา หรือตัดไม้ไผ่ที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติมาใส่น้ำดื่ม ใช้ใบตอง ใบไม้บางชนิดมาใส่อาหารหรือใช้ในการแปรรูปอาหาร

ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงที่มีชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นแหล่งรวมอารยธรรมความเจริญ เพราะมีหลากหลายชาติและหลายภาษา คนไทยในยุคนั้นเริ่มได้รับวิชาความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ บรรจุภัณฑ์จากต่างชาติที่นำเข้ามา เช่น ขวดแก้วบรรจุเหล้ากลั่นที่มีความสวยงาม กล่องบรรจุยาเส้น หีบไม้ หีบเหล็ก และบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากเมืองจีน เช่น ถังไม้บรรจุอาหารประเภทหมักดอง กล่องหรือลังไม้สำหรับบรรจุผักหรือผลไม้แปรรูป

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณฑ์จากกระดาษ ยังไม่เป็นที่รู้จักนอกจากยังไม่มีโรงงานผลิตกระดาษแล้ว ในยุคนั้นเห็นว่ากระดาษเป็นของสูงเนื่องจากกระดาษข่อยหรือสมุดข่อยใช้สำหรับจดสูตรยาตำราหลวง ยาพื้นเมือง ยาผีบอก หรือใช้สำหรับพระบรมราชโองการของพระเจ้าอยู่หัว จึงไม่ควรนำมาใช้หีบห่อหรือทำเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่สิ่งของ การพัฒนาหรือผลิตบรรจุภัณฑ์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน จึงแสดงถึงการผลิตตามรูปแบบการใช้สอยในชีวิตประจำวัน ดังนี้

1.การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มหรือบรรจุภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ เริ่มจากการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาผลิตวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ ใบตอง เชือกกล้วย ใบลาน ปอ หรือดินที่นำมาทำเป็นเครื่องปั้นดินเผา

2.จากนั้นค่อยๆ พัฒนามาเป็นการใช้โลหะผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ เช่น หีบเหล็กบรรจุเครื่องมือเครื่องใช้ หีบไม้ กล่องใส่ขนม หรือกล่องยาเส้นจากโลหะและไม้

3.ขั้นตอนการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การผลิต บรรจุภัณฑ์พลาสติก เครื่องแก้วเจียรนัย ขวดแก้ว อลูมินัม ฟลอยล์ โฟม และ และการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกระดาษ เช่น กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก พาเลทกระดาษ เยื่อกระดาษขึ้นรูป กล่องกระดาษใส่อาหาร กล่องกระดาษใส่ขนม หรืออื่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อม

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์มีบทบาทและเป็นส่วนประกอบสำคัญขององค์กรธุรกิจทุกรูปแบบ ทั้งอุตสาหกรรมการผลิต การส่งออก ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ปัจจุบันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรณรงค์ให้คนเห็นความสำคัญของการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติกำลังอยู่ในความสนใจของผู้บริโภค เนื่องจากส่งผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังลดปัญหามลภาวะจากการกำจัดขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอย่างผิดวิธี เช่น การเผาหรือย่อยสลวยด้วยน้ำยาเคมี ดังนั้น นักธุรกิจเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการ รวมทั้งนักออกแบบ เมื่อต้องการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ จึงต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยพิจารณาถึงความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบ วัตถุประสงค์ วางแผนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

1.ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงแยกความหมายออกเป็น 2 ประโยค ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ หมายถึง และสิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร

บรรจุภัณฑ์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม

ส่วนคำว่า สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งแวดล้อมยังเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ ในที่นี้ยังครอบคลุมถึงผลกระทบที่เกิดจากวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วก่อให้เกิดปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกด้วย

ดังนั้น ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จึงหมายถึง สิ่งที่นำมาบรรจุหีบห่อสินค้าเพื่อปกป้องสินค้าไม่ให้ชำรุดเสียหาย หรือรักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้นานและสามารถส่งถึงกลุ่มผู้บริโภคหรือลูกค้าได้อย่างปลอดภัย และบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้บรรจุหีบห่อสินค้าต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือผลิตจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพัสดุ กล่องไปรษณีย์ กล่องกระดาษใส่ขนม และกล่องกระดาษใส่อาหาร เป็นต้น

2.องค์ประกอบของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
องค์ประกอบของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งที่ออกแบบไว้บนบรรจุภัณฑ์ หรือรายละเอียดและส่วนประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกและตัดสินใจซื้อของกลุ่มลูกค้า ได้แก่

ชื่อของสินค้า
ตราหรือโลโก้ ที่ใช้แสดงสัญลักษณ์ของแบรนด์สินค้า
สัญลักษณ์ทางการค้า
รายละเอียดของสินค้า เช่น คุณสมบัติของสินค้าที่ใช้แล้วแตกต่างหรือมีประโยชน์อย่างไร
รายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย
รูปภาพสินค้าหรือรูปดภาพที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
ส่วนประกอบของสินค้า
ปริมาณของสินค้าที่บรรจุไว้
ชื่อผู้ผลิตและผู้จำหน่าย (ถ้ามี)
รายละเอียดต่าง ๆ ตามข้อบังคับของกฎหมาย เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิต
3.วัตถุประสงค์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
สำหรับของการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ อยู่ 2 ประการ ได้แก่ การเอื้อประโยชน์ด้านการใช้สอย และเพื่อการสื่อสารหรือใช้เป็นสื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ดังนี้

การเอื้อประโยชน์ด้านการใช้สอย ได้แก่ การปกป้องสินค้าให้ปลอดภัยจากผู้ผลิตจนถึงมือผู้บริโภค ประหยัด ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุที่นำมาใช้เมื่อใช้แล้วต้องสามารถปลูกทดแทนหรือนำกลับมาใช้ได้ใหม่ การออกแบบแก้วกาแฟกระดาษ กล่องพิซซ่า / กระดาษรองอาหาร ชามกระดาษ และถ้วยกระดาษ เป็นต้น
เพื่อการสื่อสารหรือเป็นใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ หมายถึง ความมีเอกลักษณ์พิเศษของผลิตภัณฑ์ ที่สามารถสร้างการจดจำหรือสร้างทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์และแบรนด์สินค้าได้
4.วางแผน การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
สำหรับขั้นตอนการวางแผน การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม มีแนวทางในการออกแบบที่นักออกแบบต้องให้ความสำคัญอยู่ 2 ประการได้แก่ การตั้งจุดมุ่งหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และการวางแผนเพื่อกำหนดขอบเขตการออกแบบอย่างเป็นระบบ ดังนี้

การตั้งจุดมุ่งหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ข้อมูลที่นักออกแบบต้องทราบ เช่น รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของคู่แข่งที่มีอยู่ในท้องตลาด ข้อมูลเหล่านี้ทำให้มีจุดมุ่งหมายในออกแบบเพื่อการแข่งขันหรือออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีความความแตกได้ง่าย
วางแผนเพื่อกำหนดขอบเขตการออกแบบอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การนำปัจจัยต่าง ๆ ทีได้จากการวิเคราะห์ มาเป็นข้อมูลเพื่อวางแนวทางการออกแบบ เช่น การออกแบบให้ฉีกแนวแตกต่างจากคู่แข่งด้านการตลาด หรือออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งโดยตรงด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า เช่น คิดค้น ค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ได้นวัตกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์ใหม่ ๆ มาผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ผลิตชามใบไม้ แทนชามกระดาษ ถาดกระดาษ
5.ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อม ผู้ออกแบบจะต้องทราบข้อจำกัดต่าง ๆ รวมทั้งขั้นตอนการออกแบบต้องมีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนการวางแผน ได้แก่ กำหนดเวลา ผลงานที่ควรได้รับในแต่ละขั้นตอนการทำงาน และกำหนดรายละเอียดของสินค้า
ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลเพื่อทำการออกแบบ ได้แก่ ข้อมูลด้านการตลาด พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มลูกค้า สถานะการแข่งขัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัด และการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
การออกแบบร่าง ได้แก่ พัฒนาความคิดให้ได้แบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างและเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ปรับปรุงรูปแบบตามข้อเสนอแนะ และจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์
ขั้นตอนการประชุมพิจารณาปรับต้นแบบ ได้แก่ การนำเสนอต้นแบบให้ผู้ประกอบหรือผู้ผลิตทราบ เพื่อทำการประชุมพิจารณาปรับต้นแบบให้ตอบโจทย์ความต้องการ
ขั้นตอนการทำแบบเสมือนจริง ได้แก่ การเลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบกราฟิกเสมือนจริง พร้อมตราสินค้าและสัญลักษณ์ทางการค้า
สร้างต้นแบบเพื่อสั่งผลิต
6.ขั้นตอนบริหารการผลิต
ในส่วนของขั้นตอนบริหารการผลิตเป็นขั้นตอนที่ผู้ประกอบการ นักธุรกิจเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ หรือนักออกแบบต้องบริหารขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มจาก การติดต่อโรงงานผู้ผลิต เลือกโรงงานที่ได้มาตรฐาน เลือกวัสดุบรรจุภัณฑ์ จนถึงการควบคุมงานผลิตให้ได้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมตามแบบที่ต้องการ และควบคุมติดตามจัดส่งบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูปจากโรงงานผลิต จนถึงคลังสินค้าของผู้ประกอบการ

สรุป
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์ไทย จะพิจารณาเห็นว่า วิวัฒนาการหรือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากอดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากการออกแบบและผลิตให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ตามรูปแบบการใช้สอยในชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยแล้ว ความทันสมัยของเทคโนโลยีก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีความทันสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคม อาทิเช่น การออกแบบกล่องพิซซ่า / กระดาษรองอาหาร กล่องกระดาษใส่อาหาร หรือบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ที่สามารถอุ่นในโครเวฟได้ หรือออกแบบแก้วกระดาษที่สามารถใช้กับเครื่องดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น

นอกจากนั้นการดูแลและใส่ใจเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ รวมถึงการรณรงค์เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เน้นการมีส่วนร่วมโดยการเลือกซื้อหรือเลือกใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนา ศึกษา คิดค้นและวิจัย เพื่อให้ได้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งนอกจากทำให้ได้นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งด้านการตลาดได้แล้ว ยังเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค สร้างการจดจำและทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

Categories
บทความ

บรรจุภัณฑ์ ธรรมชาติ มีข้อดีอย่างไร

บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติต่างกันอย่างไร ในปัจจุบันนี้อีกหนึ่งทางเลือกของบรรจุภัณฑ์ก็คือ บรรจุภัณฑ์ธรรมชาติ ที่เป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมประเภทขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ทั้งนี้หากผู้ประกอบการหันมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ก็เท่ากับช่วยให้ปัญหาเรื่องขยะในบ้านเราลดลงได้อย่างดี

ซึ่งบรรจุภัณฑ์ก็มีหลากหลายประเภทให้ผู้ประกอบการเลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์พลาสติก และบรรจุภัณฑ์โลหะ เป็นต้น ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน และบรรจุภัณฑ์ยังช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง ซึ่งแต่ละบรรจุภัณฑ์ยังถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติต่างกันอย่างไร

บรรจุภัณฑ์พลาสติก

บรรจุภัณฑ์พลาสติก คือ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์ สำหรับบรรจุสิ่งของ บรรจุอาหาร ซึ่งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์พลาสติกแต่ละชนิดมีด้วยกัน 7 ชนิด ได้แก่พลาสติกโพลีเอทิลีนเทอพาทาเลท, พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง, พลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์, พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ พลาสติกโพลีโพรพิลีน, พลาสติกโพลีสไตรีน และ พลาสติกชนิดอื่น ๆ

สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกกระปุก ที่เราเห็นได้ประเภทบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง กระปุกครีม ขวดครีมแบบปั๊ม ขวดครีมทั่วไป หรือบรรจุภัณฑ์กระปุกประเภทเครื่องดื่ม เช่น ขวดน้ำพลาสติก แกลลอนพลาสติก กระบอกพลาสติก เป็นต้น

ข้อดีบรรจุภัณฑ์พลาสติก

บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีราคาไม่แพง เพราะต้นทุนของพลาสติกไม่สูงนัก
มีความเหนียว น้ำหนักเบา ไม่นำความร้อน และไม่นำไฟฟ้า
สามารถป้องกันการซึมของอากาศ น้ำ ไม่เป็นสนิมทนทานต่อความชื้น และสภาพอากาศ
ผู้ประกอบการสามารถเลือกซื้อได้สะดวก และง่ายกว่า
ทนต่อความร้อนหรือความเย็น ทนกรดทนด่าง
สามารถพิมพ์สี ลวดลายต่าง ๆ ลงบนบรรจุภัณฑ์พลาสติกได้ไม่ยาก
สามารถใช้ร่วมกับวัสดุบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ได้ดี
สามารถนำมาแปรรูปใช้ใหม่ได้
ข้อเสียบรรจุภัณฑ์พลาสติก

หากเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาจจะทำให้มีสารเคมีเจือปนมากับพลาสติกได้ และถ้าเกิดการละลายออกมาปนเปื้อนกับอาหาร ร่างกายได้รับเป็นประจำ จะเกิดการสะสม ก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังอันตรายต่อสุขภาพ
บรรจุภัณฑ์พลาสติก ประเภทถุงพลาสติก LDPE เป็นสีควรระมัดระวังอันตรายจากเม็ดสีที่เติมเข้าไป มีส่วนผสมของตะกั่วแคดเมียม จะถูกแพร่ออกมาจากพลาสติกได้
บรรจุภัณฑ์พลาสติก สามารถติดไฟได้ง่าย ต้องมีการเติมสารหน่วงไฟ สารหน่วงไฟที่เติมจะเป็นพวกโบรมิเนเตตและคลอริเนเตต สารกบลุ่มนี้ถ้าไหม้ไฟแล้วจะให้สารไดออกซิน เป็นสารก่อมะเร็ง
บรรจุภัณฑ์พลาสติกกับบรรจุภัณฑ์ธรรมชาติต่างกันอย่างไร

บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ

นอกจากบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติแล้ว ยังมีบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ อีกเช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่เป็นอีกทางเลือกในการนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์ สำหรับบรรจุสิ่งของ บรรจุอาหาร ซึ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พลาสติกคงรูป และพลาสติกอ่อนตัว มีการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ขวดพลาสติก ถ้วยและถาดพลาสติก และมีประโยชน์ได้อเนกประสงค์สามารถบรรจุ อาหารแช่แข็ง อาหารร้อน อาหารสดได้อีก

ข้อดีบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ

ไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับโลก
ปลอดภัยไร้สารพิษ
เพิ่มจุดขาย จุดต่างของสินค้า
ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ข้อเสียบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ

บรรจุภัณฑ์กระดาษไม่สามารถดูดซึมน้ำได้ดีเท่ากล่องโฟม หรือพลาสติก ซึ่งถือว่ามีข้อด้อยเมื่อเปรียบเทียบกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น
กล่องกระดาษ บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร และเครื่องดื่มที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ อาจมีราคาสูงกว่ากล่องอาหารจากโฟม หรือพลาสติก
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : goodboxpack.com

สำหรับใครที่กำลังมองหาโรงงานรับผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ทำจาก bio-plastic, degradable plastic, eco plastic อยู่ วี.เค.พลาสติก เรารับผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งเรามีประสบการณ์ในวงการอุตสาหกรรมมากกว่า 30 ปี เรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือการผลิตบรรจุภัณฑ์ สามารถสอบถามและปรึกษากับเราได้ นอกจากนี้เรายังมีบริการออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยให้คุณสามารถเป็นเจ้าของบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามในรูปแบบของตนเองได้ในราคาที่ย่อมเยา อีกทั้งเรายังมีบริการสำหรับให้คำปรึกษาแนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มทำธุรกิจอีกด้วย

Categories
บทความ

บรรจุภัณฑ์ อยู่ชิดกับสินค้า

เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ การจัดหาเครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ มักจะตัดสินใจโดยใช้ความรวดเร็วในการผลิต หรือการบรรจุเป็นเกณฑ์ ในการตัดสิน เนื่องจากเครื่องจักรเป็นสินทรัพย์ ความมั่นใจ ที่จำหน่ายก็มีบทบาทต่อการตัดสินใจ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา เลือกเครื่องจักรนั้น นอกจากความเร็วของเครื่องแล้ว ปัจจัยอื่นที่จำเป็นต้องพิจารณา ได้แก่ ตำแหน่งที่ตั้งเครื่อง การควบคุมการทำงาน ของเครื่อง การบำรุงรักษา พร้อมทั้งการบริการหลังการขาย และสุดท้าย คือ ค่าใช้จ่ายรวมเครื่องจักร

เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามประเภทของอาหาร คือ อาหารเหลว และอาหารแห้ง ส่วนเครื่องจักร พิเศษประเภทอื่น ๆ ได้แก่ เครื่องบรรจุสูญญากาศ เครื่องห่อที่มีการทำงานด้วยเชิงกล การใช้ ฟิล์มหด รัดรูป และฟิล์มยืด ในกรณีของ บรรจุภัณฑ์แก้ว ฝาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นต้องพิจารณา ใช้เครื่องเปิดฝาด้วย

สำหรับถุงพลาสติกที่มีใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมขนาดย่อม เครื่องปิดปากถุงโดยใช้ความร้อนจะเป็นเครื่องจักรที่พบได้ทั่วไป ส่วนกระป๋องนับเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กันมาก ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องจักรที่ใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้ คือ เครื่องปิดฝา ตะเข็บคู่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้กระป๋องมีการปิดสนิทมิดชิด (Hermetic Seal) ส่วนเครื่องจักรอื่นที่นิยมใช้ใน อุตสาหกรรม อาหาร ได้แก่ เครื่องปิดฉลาก เครื่องบรรจุกล่อง เครื่องปิดเทปกาวกล่อง เครื่องซีลสูญากาศ และเครื่องรัดกล่อง

Packaging

การพิมพ์ที่นิยมใช้กับบรรจุภัณฑ์มี 4 ประเภท คือ

แบบถ่ายผ่าน (Relief)
แบบแบนราบ (Plano Graphic)
แบบกราวัวร์ (Gravure)
แบบไร้สัมผัส (Non – Contact)

สุดท้ายคือ การตรวจสอบและรับมอบเครื่องจักร ซึ่งมีความจำเป็นมากในการกำหนดคุณลักษณะจำเพาะ หรือที่เรียกว่า Specification ของเครื่องจักรในสัญญาซื้อขาย รายละเอียดในการกำหนดสเป็คจะรวบรวมเอาปัจจัยที่มีนัย สำคัญ
กฎหมายที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ในบ้านเรายังมีน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว กฎหมายที่ออกมาส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมาย ที่คุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ผลิต เช่น พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พรบ.อาหาร พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค ส่วน พรบ.มาตรฐานอุตสาหกรรมเป็นกฎหมายที่พยายามยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อควบคุมผู้ประกอบการ แปรรูปอาหาร ให้ผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ อาหารสามารถติดต่อหาข้อมูล หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ และองค์กร เอกชนต่าง ๆ ที่ไม่แสวงหากำไร อันประกอบด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ส่วนอุตสาหกรรมเกษตร และส่วนบรรจุภัณฑ์) ศูนย์การบรรจุ หีบห่อไทย ศูนย์บริการออกแบบกรมส่งเสริมการส่งออก และสถาบันค้นคว้าพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนองค์กรเอกชน ได้แก่ สมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย สถาบันอาหารและสถาบันสัญลักษณ์รหัสแท่งไทย สัญลักษณ์รหัสแท่งไทย หรือรู้จักกันในนามของบาร์โค้ด มีความจำเป็นในการใช้พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี ทางคอมพิวเตอร์ การติดสัญลักษณ์รหัสแท่งบนสินค้าตัวใดก็ตามจะไม่มีสินค้าใด ๆ ในโลกนี้ที่มีหมายเลขซ้ำ เนื่องจากการจัดการอย่างมีระบบทั่วทั้งโลก การติดบาร์โค้ดกับสินค้าอุปโภคบริโภคยังเป็นบันได ก้าวแรกที่จะก้าวไปสู่การทำธุรกิจ แบบไร้เอกสาร โดยการซื้อ การขาย หรือธุรกรรมต่าง ๆ จะผ่านสายตรงไปยังคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Electronic Data Interchange หรือ รู้จักกันด้วยคำย่อว่า EDI ผู้ประกอบการท่านใดที่ต้องการประสบความสำเร็จในเส้นทางธุรกิจ สาระเล็ก ๆ น้อย ๆ ถือเป็นสิ่งที่ควรเอาใจใส่

ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีนวัตกรรม (Innovation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด

ความหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ (Packaging)

Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบและผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความคุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น
Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผนเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name)
Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ำสุด
Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและผลิตรูปร่างหน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อหุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์
Packaging เป็นทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูกมองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึงปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่ายผลิตจะพิจารณาต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคำนึงถึงต้นทุนของวัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขายจะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุดตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะเกิดขึ้นได้จากการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาต้นทุนต่ำ แต่ในขณะเดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ผลิตภัณฑ์ภายในได้
Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดในขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบสร้างสรรค์ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับผลิตภัณฑ์
Packaging หมายถึง การนำเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบเป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยมีความแข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาในการติดต่อสื่อสาร และทำให้เกิดผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า
Packing
ส่วนความหมายของ “หีบห่อ” “บรรจุภัณฑ์” หรือ “ภาชนะบรรจุ” (Package) มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภค หรือแหล่งใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษาผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้มากที่สุด
Package หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอดจนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้ยังมีคำอีก 2 คำ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ คือ

การบรรจุภัณฑ์ (Packing) หมายถึง วิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยการห่อหุ้ม หรือใส่ลงในบรรจุภัณฑ์ปิด หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ปลอดภัย
ตู้ขนส่งสินค้า (Container) หมายถึง ตู้ขนาดใหญ่ที่ใช้ขนส่งสินค้า ซึ่งมีขนาดและรูปแบบแตกต่างกันตามวิธีการขนส่ง (ทางเรือหรือทางอากาศ) โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเป็นสากล คำว่า “Container” นี้อาจใช้ในความหมายที่ใส่ของเพื่อการขนส่งและจัดจำหน่าย ในปัจจุบัน

วัตถุประสงค์หลักของบรรจุภัณฑ์ (Objectives of Package) คือ
เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ (To Protect Products)
เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (To Distribute Products)
เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ (To Promote Products)
การควบคุมคุณภาพในความหมายง่ายๆ คือ การทำให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อมีการควบคุมคุณภาพในการผลิตสินค้าย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้จะคุ้มค่าหากสามารถลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น และกำไรเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาว่า สินค้าคุณภาพต่ำ หรือคุณภาพสูง กับค่าใช้จ่ายต่ำ และค่าใช้จ่ายสูง สองสิ่งนี้นี้จุดพอดีอยู่ตรงจุดใด และตัวแปรสำคัญในการควบคุมคุณภาพและต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่งคือ บรรจุภัณฑ์ เพราะในการบรรจุภัณฑ์สินค้านั้น หากเกิดความเสียหายหรือผิดพลาดแล้วย่อมทำให้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพราะบรรจุภัณฑ์เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการผลิตสินค้า

Categories
บทความ

กระดาษ เป็นวัสดุที่นิยม นำมาใช้ประดิษฐ์ บรรจุภัณฑ์ มากที่สุด

บรรจุภัณฑ์ คือสิ่งที่ห่อหุ้ม หรือใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำธุรกิจทุกประเภท เพราะนอกจากใช้เพื่อการขนส่งจากแหล่งผลิตหรือจำหน่ายไปยังผู้บริโภค ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเคลื่อนย้าย เช่น กล่องลูกฟูก แผ่นกระดาษลูกฟูก หรือบรรจุภัณพ์อาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งบรรจุภัณฑัเหล่านี้ ยังถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้สินค้าโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งได้

ประเภทบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท และแต่ละประเภทมีลักษณะการใช้และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.บรรจุภัณฑ์กระดาษ

บรรจุภัณฑ์จากกระดาษ นิยมใช้กันมากและยังมีหลายชนิด วัสดุที่นำมาผลิตได้แก่เยื่อกระดาษซึ่งมีทั้งเยื่อกระดาษคุณภาพ สำหรับบรรจุภัณพ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น แก้วกระดาษ ถ้วยกระดาษ กล่องข้าวที่สามารถย่อยสลายได้ ส่วนเยื่อกระดาษรีไซเคิล ได้แก่บรรจุภัณฑ์ประเภท กล่องลูกฟูก ถาดไข่ หรือถาดรองแก้วกาแฟ

2.บรรจุภัณฑ์พลาสติก

.บรรจุภัณฑ์พลาสติก จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ พลาสติกคงรูป และพลาสติกอ่อนตัว ทั้ง 2 ประเภทมีการนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆมากมาย เช่น ขวดพลาสติก ถ้วยและถาดพลาสติก ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์พลาสติกยังใช้ประโยชน์ได้เอนกประสงค์สามารถบรรจุอาหารร้อน อาหารสด และอาหารแช่แข็งได้

3.บรรจุภัณฑ์โลหะ

บรรจุภัณฑ์ประเภทโลหะ เป็นบรรจุภัณฑ์ ชนิดเก่าแก่ แต่ยังคงได้รับความนิยม ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ที่ทำมาจากโลหะนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม หรืออาหารสำเร็จรูป ถังหูหิ้ว หลอดเครื่องสำอาง อลูมิเนียมฟอยล์ หรืออลูมิเนียมแผ่นเปลว และกระป๋องฉีดพ่นต่างๆ

บรรจุภัณฑ์แก้ว
บรรจุภัณฑ์แก้วนิยมใช้กันทั่วไป เนื่องจากมีความสวยงาม มีความใสและทำเป็นสีต่างๆได้ง่ายมาก ข้อด้อยของแก้วก็คือแตกหักง่าย บรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ จึงต้องใช้คู่กับเยื่อกระดาษขึ้นรูป หรือ กระดาษรังไข่ (pulp mold) เพื่อป้องกันการแตกร้าว บรรจุภัณฑ์แก้วที่นิยมผลิตและใช้กันมีอยู่ 3 สี คือ

สีใส นิยมใช้กันมากและใช้กันทั่วไป เช่น ขวดแก้ว ขวดน้ำหอม ขวดน้ำพริก ขวดแยม และอื่นๆ
สีอำพัน นิยมใช้ทำขวดยา และขวดเบียร์ ซึ่งเป็นสีที่สามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาเวลาถูกแสงแดดหรือความร้อนได้
สีเขียว ลักษณะจะคล้ายกับสีอำพัน แต่บรรจุภัณฑ์สีนี้นิยมใช้กับพวกเครื่องดื่ม
5.บรรจุภัณฑ์ไม้

ไม้เป็นวัสดุจากธรรมชาติ ใช้ทำเป็นบรรจุภัณฑ์ได้หลากหลายรูปแบบ ลักษณะของไม้ที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ ได้แก่

ไม้จริง เช่นไม้ยางพาราหรือไม้เนื้อแข็ง
ไม้อัด เป็นแผ่นบาง ๆ จากไม้ซุง แล้วนำมาติดกาวให้เป็นเส้นใย จากนั้นอัดด้วยความร้อน
แผ่นชิ้นไม้อัด ทำมาจากเศษชิ้นไม้มาสับอัดติดกันให้เป็นแผ่นด้วยกาว
แผ่นใยไม้อัด นำเศษไม้มาย่อยเป็นเส้นใยแล้วนำมาทำแผ่นใหม่
ปัจจุบันการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ นอกจากช่วยในเรื่องการขนย้ายป้องกันความเสียหายจากการกระแทก

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ยังมีผลทำให้แบรนด์สินค้าได้รับความสนใจได้ หากเลือกใช้ กล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก หรือบบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มให้เหมาะกับสินค้า

Categories
บทความ

ขยายพันธุ์พืช ช่วยรักษาพันธุ์พืช อย่างไร

การขยายพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มปริมาณของต้นพืชให้มีจำนวนมากขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคงลักษณะของพันธุ์ที่ต้องการไว้ให้ได้ปริมาณมากอย่างรวดเร็ว มีผลตอบแทนสูงทางการค้าและดำรงรักษาเผ่าพันธุ์ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ จึงทำให้การคัดเลือกพันธุ์พืชที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของมนุษย์ ถูกเพิ่มปริมาณให้ได้มากอย่างเพียงพอ สำหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป

การประกอบการเกษตรกรรมจึงต้องอาศัยความรู้ทางการขยายพันธุ์พืช ในการผลิตต้นพันธุ์สำหรับปลูก งานด้านนี้จึงสามารถนำมาประกอบเป็นอาชีพจำหน่ายส่วนขยายพันธุ์ให้กับเกษตรกรทั่วไปได้ ทำรายได้ในระยะเวลาสั้น ไม่ต้องลงทุนและเสียเวลาปลูกจนผลผลิตถึงระยะเก็บเกี่ยว การปฏิบัติงานทางด้านนี้ให้ประสพผลสำเร็จได้ดีจะต้องอาศัยหลักการทางด้านศิลปะของการขยายพันธุ์ (art of propagation)

ทั้งทักษะการทำงานและประสบการณ์มาประกอบกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของการขยายพันธุ์ (science of propagation) ซึ่งได้มาจากพื้นฐานของวิชาการหลายด้านในการทำความเข้าใจธรรมชาติของพืช การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์และอื่นๆ อีกหลายวิชา นอกจากนั้นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับนักขยายพันธุ์พืชจะต้องรู้จักชนิดของพืชให้มากที่สุด จึงจะสามารถเลือกใช้วิธีการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมและให้ผลสำเร็จสูง

Categories
บทความ

ออกแบบ บรรจุภัณฑ์ ให้ รูป ทรง ทันสมัย แปลกตา

ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบต้องคำนึงถึงศาสตร์และศิลป์สำหรับใช้แก้ปัญหาการออกแบบบรรจุภัณฑ์แต่ละด้านให้เกิดผลลัพธ์การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ ในการบรรลุวัตถุประสงค์หลักของบรรจุภัณฑ์สองข้อคือ การออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ ที่ล้วนมีรายละเอียดที่ต้องคำนึงทฤษฎีและ

หลักการที่เกี่ยวข้อง
ข้อกำหนดในการออกแบบโครงการบรรจุภัณฑ์
·       ชนิดของวัสดุมีความเหมาะสม ป้องกันสินค้าได้ตลอดอายุการวาขาย
·       รูปแบบกลมกลืนสอดคล้องกับสินค้า
·       ขนาดพอดีและสามารถรับน้ำหนักสินค้าได้
·       การขึ้นรูป การบรรจุ เปิด-ปิดสะดวก ไม่ยุ่งยาก


การออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์             
การออกแบบและการจัดวางรูปประกอบตัวอักษร ลวดลาย ถ้อยคำ เครื่องหมายหรือตราสัญลักษณ์ทางการค้า โดยใช้หลักวิชาการทางศิลปะ การจัดภาพองค์ประกอบศิลป์เพื่อให้ผลงานมีความประสานกลมกลืนกันอย่างสวยงามและสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ข้อมูลประกอบการออกแบบบรรจุภัณฑ์
– ข้อมูลด้านการตลาด ได้แก่ สถานที่จัดจำหน่าย ฤดูกาล
– รูปแบบการกระจายสินค้า (ปลีก/ส่ง) พฤติกรรมผู้บริโภค
– ปริมาณและมูลค่าของสินค้าในตลาด (ส่วนแบ่งทางการตลาด )
– ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ประวัติความเป็นมา
– คำอธิบาย จุดเด่น ประโยชน์ ขนาดปริมาณบรรจุ ความถี่/ปริมาณการใช้ที่ใช้ต่อครั้ง ราคาและต้นทุน ข้อควรระวัง

ขั้นตอนการออกแบบบรรจุภัณฑ์

            1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย  ถือเป็นเรื่องสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพราะกลุ่มเป้าหมายสามารถส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ได้โดยตรง ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาและเรียนรู้ความต้องการของตลาดและความต้องการของผู้บริโภค โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด  ตัวอย่าง  กลุ่มเป้าหมาย เช่น วัยรุ่น วัยทำงาน แม่บ้าน เด็ก ฯลฯ เป็นต้น  
            กลุ่มเป้าหมายที่ได้ยกตัวอย่างนี้ นอกจากจะมีความสนใจและความต้องการที่แตกต่างกันแล้วกลุ่มเป้าหมายเดียวกันแต่ช่วงอายุต่างกันและมีสถานะทางสังคมที่แตกต่างกัน ก็ย่อมมีความต้องการแตกต่างกันด้วยเช่นกัน  ซึ่งทำให้ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ก็ต้องมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ หรือบางครั้งผลิตภัณฑ์บางอย่างผลิตขึ้นมาเพื่อผู้บริโภคกลุ่มหนึ่ง  แต่ผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งกลับเป็นผู้เลือกและตัดสินใจซื้อ เช่น อาหารเสริมสำหรับเด็กหรือ นมผงสำหรับทารก จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ทารกและเด็กมิได้เป็น ผู้เลือกซื้อ แต่ผู้เลือกและตัดสินใจซื้อกลับเป็นผู้ปกครอง
            ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผู้ประกอบการจำเป็นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำการศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอย่างละเอียดรอบครอบ และค้นหาวิธีว่าจะออกแบบอย่างไรให้บรรจุภัณฑ์ของท่านสามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคตามกลุ่มเป้าหมายให้ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของท่าน


            2. กำหนดชื่อตราสินค้า(Brand)  ตราสินค้าใช้เป็นชื่อหรือเครื่องหมายสำหรับการเรียกขานผลิตภัณฑ์  ผู้ประกอบการจะต้องทำการกำหนดชื่อตราสินค้าให้เรียบร้อยก่อนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยกำหนดให้ชื่อตราสินค้ามีความเป็นเอกลักษณ์ ชัดเจน น่าสนใจ ที่สำคัญจะต้องเป็นที่จดจำได้ง่ายแก่ผู้บริโภคตราสินค้าที่ดีนั้นสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้ คือตั้งตามชื่อเจ้าของกิจการ ตั้งตามความเชื่ออันเป็นมงคล ตั้งตามแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ หรือตั้งโดยการผสมคำที่มีความหมายให้เกิดเป็นคำใหม่ที่มีเอกลักษณ์ ฯลฯ เป็นต้น
ลักษณะที่ดีของตราสินค้าที่ดี
·       สั้น กะทัดรัด จดจำได้ง่าย ออกเสียงได้ง่ายมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
·       แปลเป็นภาษาต่างประเทศได้ง่ายมีความหมายที่เหมาะสม
·       สามารถบอกถึงคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์
·       สอดคล้องกับค่านิยมและวัฒนาธรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถนำไปจดทะเบียนการค้าได้ต้องไม่ซ้ำกับของเดิมที่มีอยู่

            3. วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์  วัสดุมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การที่ผู้ประกอบการตัดสินใจว่าจะใช้วัสดุอะไรมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์นั้น  ท่านควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณสมบัติของวัสดุแต่ละประเภท ที่จะนำมาผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นสำคัญ  เนื่องวัสดุแต่ละชนิดแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่เป็นข้อดีและข้อเสีย  ในการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ให้คงคุณภาพ การยืดอายุผลิตภัณฑ์ และการนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) ที่แตกต่างกันไป หากท่านเลือกใช้วัสดุไม่ถูกต้องนอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นสาเหตุให้เกิดต้นทุนในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
            4. รูปทรง บรรจุภัณฑ์ ที่มีรูปร่างสวยงาม สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค ถึงแม้ผู้บริโภคจะยังมิได้สัมผัสกับตัวผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใน รูปทรงของบรรจุภัณฑ์สามารถสร้างความเป็นเอกลักษณ์ได้ กล่าวคือเมื่อผู้บริโภคเห็นรูปทรงสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นผลิตภัณฑ์อะไรและมีชื่อตราสินค้าอะไร หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์เดียวแตกต่างกันที่ชื่อตราสินค้า
           5. สีสันและกราฟฟิค สีสันและกราฟฟิคนี้คือการรวมของการใช้สัญลักษณ์ ตัวอักษร ภาพประกอบ ลวดลายและพื้นผิว ซึ่งส่วนประกอบทั้งหมดสามารถบ่งบอกถึงชื่อตราสินค้า ลักษณะผลิตภัณฑ์ ที่บรรจุอยู่ภายในได้และสามารถแสดงถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ได้ด้วย
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดี            การออกแบบบรรจุภัณฑ์  ให้มีความสวยงามและความแปลกตา เท่านี้คงไม่เพียงพอสำหรับบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารเพราะหัวใจของบรรจุภัณฑ์ คือ การเก็บรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้คงอยู่ยืนยาว ดังนั้น การออกแบบที่ดีผู้ประกอบการควรคำนึงถึงหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์เป็นสำคัญ  ดังนี้
            1.  ป้องกันผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมในการบรรจุอาหารจะต้องสามารถป้องกันไม่ให้อาหารสัมผัสกับบรรยากาศภายนอก ซึ่งอาจจะเกิดการรั่ว การซึม แสง ความร้อนเย็น
            2. เก็บรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่ต้องสามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์มิให้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นหรือรสชาติ
            3. ยืดอายุผลิตภัณฑ์ จะต้องสามารถนำเทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนมาช่วยในการออกแบบ เพื่อให้บรรจุภัณฑ์ สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุยืนยาว
            4. ความสะดวกในการใช้งาน
            5. ความประหยัดในการขนส่ง
งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์            ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทบรรจุภัณฑ์  ควรให้ความสำคัญในการเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทอาหาร ควรเลือกสีชนิดFood grade   และควรเป็นสีที่คงทนต่อการใช้งานที่ต้องการพิมพ์บนวัสดุใช้พิมพ์ที่ต้องการได้ เช่น กระดาษแข็ง  แผ่นกระดาษลูกฟูก โดยไม่ทำให้วัสดุใช้พิมพ์เสียหาย
            ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรออกแบบให้ขนาดของชิ้นงานกับขนาดกระดาษมาตรฐานที่ขึ้นขึ้นแท่นพิมพ์พอดี ไม่เหลือเศษขอบกระดาษมาก เพื่อความประหยัดต้นทุน
งานพิมพ์บรรจุภัณฑ์
            ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์ประเภทบรรจุภัณฑ์  ควรให้ความสำคัญในการเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทอาหาร ควรเลือกสีชนิดFood grade   และควรเป็นสีที่คงทนต่อการใช้งานที่ต้องการ
พิมพ์บนวัสดุใช้พิมพ์ที่ต้องการได้ เช่น กระดาษแข็ง  แผ่นกระดาษลูกฟูก โดยไม่ทำให้วัสดุใช้พิมพ์เสียหาย
            ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรออกแบบให้ขนาดของชิ้นงานกับขนาดกระดาษมาตรฐานที่ขึ้นขึ้นแท่นพิมพ์พอดี ไม่เหลือเศษขอบกระดาษมาก เพื่อความประหยัดต้นทุน
กล่องเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
The Box as Transit Container
– เป็นบรรจุภัณฑ์พื้นฐานที่มุ่งเน้นการใช้งาน      
– เน้นเรื่องราคา ในการตัดสินใจซื้อ
กล่องเป็นเครื่องมือทางการตลาด
The Box as a Marketing Tool
–  เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์นอกเหนือจากการใช้งาน
– การวางแนวคิดจะสอดคล้องกันระหว่างสินค้าบรรจุภัณฑ์ชั้นใน และบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก
– ออกแบบสวยงามเน้นตราสินค้าและความเด่นเมื่อโชว์ตามร้านค้า
หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ด้านการตลาด(Marketing Functions)
1. หน้าที่ส่งเสริมการขาย
2. หน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่ม
3. หน้าที่ให้ความถูกต้อง รวดเร็วในการขาย
4. หน้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม
5. หน้าที่ในการรณรงค์เรื่องต่างๆ เช่น กินของไทยใช้ของไทย  ส่งเสริมการท่องเที่ยว

Categories
บทความ

วิธีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ต้องพิถีพิถัน เรื่องบรรจุภัณฑ์มากที่สุด

การเลือก บรรจุภัณฑ์อาหาร มีความสำคัญอย่างไร ? ต้องบอกก่อนเลยว่าการเลือก บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารนอกเสียจากมีผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจแล้ว เรายังต้องให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ใช้อีกด้วย ดังนั้น สำหรับร้านค้าที่ต้องการหาบรรจุภัณฑ์มาใส่อาหารของตนเองนั้นต้องเลือก บรรจุภัณฑ์อาหาร อย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยกับอาหารมากที่สุด โดยมีวิธีในการเลือกอย่างไรมาติดตามกันเลยค่ะ

รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทของอาหาร

          สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกบรรจุภัณฑ์อาหารนั้นต้องเลือกจากรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่เราต้องการนำมาใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของอาหารนั้น ๆ ดังนั้นเรามาดูกันเลยว่าบรรจุภัณฑ์รูปแบบใดเหมาะสมกับอาหารที่เราต้องการจำหน่าย

            1. การใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก

            สำหรับการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกนั้น มีข้อดีก็คือวัสดุมีความคงทน น้ำหนักเบา และยังสามารถป้องกันน้ำและอากาศที่จะเข้ามาภายในของบรรจุภัณฑ์ได้ แต่สิ่งสำคัญที่ในการเลือกบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกคือการตรวจสอบความคงทนของบรรจุภัณฑ์ รวมถึงความสามารถในบรรจุอาหารและเครื่องดื่มได้ทั้งในรูปแบบร้อนและเย็น ซึ่งจะทำให้การบรรจุอาหารมีความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายในระหว่างที่ขนส่งได้

            2. การใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ

            นับตั้งแต่กระแสรักษ์โลกเริ่มต้นขึ้น มีร้านค้าจำนวนไม่น้อยเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษกันมากขึ้น โดยข้อดีของการใช้บรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษนั้นคือมีน้ำหนักเบา และมีราคาไม่แพงมากนัก อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการกันน้ำและน้ำมันของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ยังไม่ดีมากนัก ทำให้การเลือกบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษมาใส่อาหารควรให้ความสำคัญในเรื่องความเหมาะสมกับชนิดของอาหาร รวมถึงมีการรับรองทางด้านความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบโจทย์กับกระแสรักษ์โลกในปัจจุบันและมีความปลอดภัยสูงสุดในขณะที่รับประทาน

ข้อควรคำนึงในการเลือกบรรจุภัณฑ์อาหาร

            การเลือกบรรจุภัณฑ์อาหารเป็นสิ่งที่ร้านค้าทุกร้านต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก นอกจากชนิดของอาหาร และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากแล้ว ความปลอดภัยก็เป็นอีกเรื่องที่ร้านค้าไม่ควรละเลย โดยมีข้อควรคำนึงถึง ดังต่อไปนี้

            1. สุขอนามัย

            บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารที่ดีต้องได้รับการรับรองมาตรฐานทางด้านสุขอนามัย โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บเข้าคลังสินค้า การขนย้ายบรรจุภัณฑ์ต้องมีการปฏิบัติข้อบังคับว่าด้วยการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารที่มีความเข้มงวดเพื่อส่งต่อสุขอนามัยที่ดีไปยังผู้บริโภค

            2. การรับรองมาตรฐาน GMP/HACCP CODEX

            การรับรองมาตรฐานจากGMP/HACCP CODEXเป็นการจัดการสภาวะแวดล้อมขั้นพื้นฐานของกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้อาหารก่อผลกระทบต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคอย่างแท้จริง

            3. มีความมั่นคงแข็งแรง

            เพื่อประโยชน์สูงสุดของการใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารสำหรับร้านค้าต่าง ๆ คือการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีความมั่นคงแข็งแรง  เพราะนอกจากสามารถป้องกันการเสียหายในระหว่างการขนส่ง ยังสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภค ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของร้านค้า และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภคได้

            4. มีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน

            การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารให้เหมาะสมกับชนิดและลักษณะของอาหารมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหน้าตาของบรรจุภัณฑ์นับเป็นหน้าตาของร้านค้า ดังนั้นการออกแบบจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจละเลยได้ โดยควรให้ความสำคัญทั้งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม รวมถึงต้องออกแบบให้เอื้อต่อการใช้งานและคำนึงความเหมาะสมของชนิดของอาหารเป็นสำคัญ จึงจะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภคได้

5. สามารถย่อยสลายและนำมารีไซเคิลได้

            บรรจุภัณฑ์สำหรับใส่อาหารที่เหมาะสมกับกระแสการรักษ์โลกในปัจจุบันควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% รวมถึงสามารถย่อยสลายได้เพื่อช่วยในการลดปริมาณขยะ ทั้งยังช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศซึ่งสิ่งที่ร้านค้าควรให้ความสำคัญ รวมทั้งยังเป็นอีกทางเลือกที่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อแบรนด์ได้อีกด้วย

ทำไมต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารGreen Packs

            บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารGreen Packs นอกจากมีประเภทของบรรจุภัณฑ์ให้เลือกอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับอาหารทุกประเภท ยังผ่านการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมISO 14001 ระบบมาตรฐานในการผลิตอาหารGMP และระบบมาตรฐานด้านคุณภาพISO 9001:2015รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์กระดาษใส่อาหาร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) อีกทั้งเรายังใส่ใจในด้านความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมอย่างสูงสุด โดยเน้นการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารที่สามารถย่อยสลายและนำมารีไซเคิลใหม่ได้ จึงมั่นใจได้ว่า Green Packs ไม่ได้เพียงให้ความสำคัญเพียงผู้บริโภคเท่านั้น ยังเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างโลกใบนี้ของเราให้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

Categories
บทความ

ผักตบชวา ป่านศรนารายณ์ กก กล้วยเป็นวัสดุธรรมชาติประเภทใด

มนุษย์ใช้ประโยชน์จากเส้นใยของพืช มาเป็นเวลานาน เรานำพืชเส้นใยมาทำเครื่องนุ่งห่ม ภาชนะ และเครื่องใช้ภายในบ้าน

พืชเส้นใย ได้แก่ ฝ้าย ป่าน ปอ มะพร้าวและกล้วย เป็นต้น

ฝ้าย เป็นพืชเส้นใยที่เรารู้จักกันดีมานานแล้ว นับเป็นราชินีแห่งพืชเส้นใย หรือสิ่งทอ เพราะเกี่ยวข้อง และมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำเครื่องนุ่งห่ม นอกจากฝ้ายแล้ว ก็ยังมีพืชอื่นที่เราใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม

ใบป่านศรนารายณ์ ใบสับประรด ให้เส้นใยที่เราใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับเส้นใยจากส่วนเปลือกหุ้มลำต้นของปอแก้ว ปอกระเจา

มะพร้าว ก็ให้เส้นใยจากส่วนเปลือกที่หุ้มผล หรือส่วนที่มักเรียกว่า กาบมะพร้าว เราสามารถนำเส้นใยไปใช้ยัดเบาะ ที่นอน และเก้าอี้นวม (โซฟา) ได้เช่นเดียวกับ นุ่น งิ้ว รัก และฟั่นเป็นเชือกเช่นเดียวกับปอหรือป่านศรนารายณ์ได้ด้วย

กาบใบกล้วย ก้านใบผักตบชวา ก็ให้เส้นใยที่เราใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำเชือก ถัก หรือสาน เป็นเครื่องใช้ และเครื่องประดับ

เส้นใย

คือ สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเรียวยาว เราอาจจะได้เส้นใยจากพืชหรือสังเคราะห์ขึ้น โดยอุตสาหกรรมทางเคมี

ส่วนประกอบของเส้นใย ก็เป็นเซลลูโลส (๖๕.๙-๘๒.๗%) ซึ่งมีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต หรือพวกแป้งและน้ำตาล พืชเส้นใย คือ พืชที่ให้เส้นใย ซึ่งเรานำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ

ฝ้าย

เป็นพืชเส้นใยที่เรารู้จักกันดี เรานำปุยมาปั่นเป็นเส้นด้าย แล้วทอเป็นผืนผ้า ใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ปิดป้องร่างกาย และให้ความอบอุ่น

สมอฝ้ายที่แก่จัดพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ ฝ้ายเป็นราชินีแห่งพืชเส้นใยหรือสิ่งทอ

ปอ

เป็นพืชเส้นใยที่เราใช้เส้นใยจากเปลือก ฟั่นทำเชือกสำหรับเย็บหรือผูก และทอเป็นผืน สำหรับนำไปทำเป็นกระสอบบรรจุ หรือห่อหุ้มสิ่งของ

ผลิตภัณฑ์จากปอ

ป่าน

มีความหมายไปในลักษณะเส้นใยแข็งมากกว่าปอ หมายถึง เส้นใยจากใบใช้ประโยชน์เช่นเดี่ยวกับปอ เช่น ป่านรามี ให้เส้นใยจากส่วนเปลือกที่หุ้มลำต้น ใช้ผลิตเป็นด้าย แล้วใช้ทอผ้าได้ ป่านศรนารายณ์ ให้เส้นใยจากใบ สำหรับฟั่นทำเชือก ทำแปรงหรือขัด สำหรับขัดโลหะให้เป็นเงา สานเป็นภาชนะบรรจุสิ่งของ ทำเป็นแส้ปัดแมลง ใบสับปะรดก็ให้เส้นใยที่ทำเป็นเส้นด้าย และทอเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผืนผ้าได้ ในขณะที่พวกกก ซึ่งขึ้นในที่ที่มีน้ำขังแบบนาข้าวนั้น ใช้สานหรือทอเสื่อได้ดี หรือถักเป็นกระเป๋า ตะกร้าหมวกที่สวยงาม เป็นต้น

ต้นป่านศรนารายณ์ ที่เรานำใบมาใช้ประโยชน์ได้

ผักตบชวา

แม้ว่าจะเป็นวัชพืชน้ำ ก็ให้เส้นใยที่ใช้ประโยชน์ได้ เรานำก้านใบมากตากให้แห้ง แล้วฟั่น ถัก หรือสาน เป็นของใช้หลายอย่าง เช่น เชือก เปลญวน หรือเปลแขวน กระเป๋าถือ หมวก และรองเท้าเป็นต้น

ต้นป่านศรนารายณ์ ที่เรานำใบมาใช้ประโยชน์ได้

กล้วย

มีกาบใบ ซึ่งใช้ประโยชน์หลายอย่างในด้านเส้นใย รวมทั้งใช้ตากแห้ง ทำเป็นเชือกผูกของ ถักเป็นกระเป๋า ตะกร้า และหมวก เป็นต้น

มะพร้าว

ให้ประโยชน์แก่มนุษย์หลายประการ เราสามารถใช้เส้นใยจากเปลือกหรือกาบมะพร้าว หรือส่วนที่หุ้มเมล็ด ไปยัดเบาะ ที่นอน หรือเก้าอี้นวม เช่น เดียวกับนุ่น หรือทำพรมเช็ดเท้า แปรงขัดถูทำความสะอาด และฟั่นเป็นเชือก

ผลิตภัณฑ์จากใยมะพร้าว

ยังมีพืชอีกหลายอย่างที่ให้เส้นใยที่จับตัวเกาะกันแน่น จำเป็นต้องใช้กรรมวิธีบางอย่าง เพื่อให้นำเส้นใยนั้นไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ไผ่ที่เราใช้ประโยชน์ทางด้านจักสาน สน ยูคาลิปตัส ปอสา ฟาง และต้นพืชล้มลุกบางชนิด ให้สารพวกเซลลูโลส ซึ่งอาจเป็นเส้นใย สำหรับไปทำเยื่อกระดาษ สำหรับผลิตกระดาษ

Categories
บทความ

ฉลากเขียว (green label หรือ eco-label) คือ

ฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development, TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และได้รับความเห็นชอบและความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติออกมาเป็นรูปธรรม จึงนับว่าเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างส่วนราชการ และองค์กรกลางต่าง ๆ โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นเลขานุการ

ฉลากเขียวเกิดขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานอิสระที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีความเป็นกลาง เชื่อถือได้ ตลอดจนดูแลควบคุมคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นตลอดทั้งวัฎจักรชีวิต อย่างเป็นระบบและโปร่งใส เนื่องจาก สินค้าสีเขียว ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดในปัจจุบันเกิดจากการประชาสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายโดยอิสระเท่านั้น

แนวคิดของฉลากเขียว

  1. ฉลากเขียว เป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนดที่ทางคณะกรรมการนโยบายและบริหารงานฉลากเขียวประกาศใช้
  2. เป็นการสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้ให้บริการ ที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภค โดยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และกระตุ้นให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากขึ้น
  4. กระตุ้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
  5. กระตุ้นให้รัฐบาลและเอกชน ร่วมมือกันฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหามลภาวะด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค

วัตถุประสงค์ของฉลากเขียว

วัตถุประสงค์หลักของฉลากเขียว มาจากแนวความคิดและความต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้

  1. ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวมภายในประเทศ
  2. ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
  3. ผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการผลิตที่สะอาด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ทั้งนี้ เพื่อส่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจแก่ผู้ผลิตเองในระยะยาว
Categories
บทความ

เพราะเหตุผลใด บรรจุภัณฑ์ จาก วัสดุธรรมชาติ จึงช่วย ลดปริมาณขยะ

บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญต่อตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะช่วยปกป้องรักษาคุณภาพสินค้า ช่วยในการเก็บรักษา ป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายจากการเคลื่อนย้าย เป็นตัวช่วยเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมด้านการตลาด พิจารณาได้จาก บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ประเภท กล่องพิซซ่า หรือ แก้วกระดาษ หากมีการออกแบบให้โดดเด่นสวยงาม ยังช่วยกระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้

ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

บรรจุภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่ใช้ห่อหุ้มหรือใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ รวมถึงภาชนะที่ใช้สำหรับขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปถึงผู้บริโภค โดยวัตถุประสงค์เบื้องต้นของบรรจุภัณฑ์ผลิตขึ้นเพื่อรักษาผลิตภัณฑ์ให้คงสภาพหรือมีคุณภาพใกล้เคียงกับเมื่อแรกผลิต

สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ความหมายโดยรวมของสิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆตัวเราประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ พืช สัตว์ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ  และทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ถนน เขื่อนกั้นน้ำ สาธารณูปการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์

ความหมายของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จึงหมายถึง สิ่งที่ใช้ห่อหุ้มสินค้า รวมถึงภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้าเพื่อการขนส่งหรือจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปถึงผู้บริโภค ผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่นำมาใช้แล้วปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและไม่ส่งผลกระทบสภาพแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ผู้ประกอบการนิยมใช้ มีทั้งแบบสำเร็จรูปที่โรงงานผลิตออกมาวางจำหน่าย และสั่งผลิตตามรูปแบบที่ต้องการ อาทิเช่น กระดาษฝอย กระดาษรองกล่อง กระดาษปูพื้นรถยนต์ กระดาษรองจาน หรือ กล่องกระดาษใส่อาหาร กระดาษลูกฟูกม้วน 2 ชั้น กล่องไฮบริด และอื่น ๆ

ความสำคัญของบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

จากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย  และขยะบรรจุภัณฑ์ก็ถือเป็นหนึ่งในหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงได้แก่การที่อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นแหล่งใช้พลังงาน ทั้งการใช้สารบางประเภท เช่น CFC (Chlorofluorocarbons)  ในกระบวนการผลิตและแปรรูป ส่งผลต่อการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ และยังเป็นปัญหาจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วก่อให้เกิดขยะอยู่ตามแหล่งชุมชน ในแม่น้ำลำคลอง นอกจากทำลายสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์แล้วยังก่อให้เกิดมลพิษจากการกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธี เช่นการเผาทำลาย หรือขยะที่กลายเป็นปัญหาทำให้น้ำเน่าเหม็นส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน

ปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ ทำให้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ตามเทรนด์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น กล่องกระดาษใส่ขนม กล่องกระดาษใส่อาหาร ชามกระดาษ ถาดกระดาษ ถาดใส่แก้ว แก้วกระดาษ ถ้วยกระดาษ และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติรูปแบบอื่น ๆ

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาด

กระแสภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวน ภัยพิบัติและมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้เกิดการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เนื่องจาก บรรจุภัณฑ์พลาสติก โฟม โลหะ และอื่น ๆ ที่ย่อยสลายได้ยาก การออกแบบหรือเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ จึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น บรรจุภัณฑ์ทุกประเภท เช่น กล่องพิซซ่า กระดาษรองกล่อง กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น กล่องกระดาษใส่อาหาร กล่องไก่ทอด กล่องหมูทอด และอีกหลากหลายรูปแบบ เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด สามารถสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์สินค้าหรือทำให้สินค้าและบรรจุภัณฑ์มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งที่จำหน่ายสินค้าประเภทเดียวกัน ได้เป็นอย่างดี การออกแบบบรรจุภัณฑ์และการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ ช่วยส่งเสริมกิจกรรมด้านการตลาด ดังนี้

1. การใช้บรรจุภัณฑ์ช่วยโฆษณาประชาสัมพันธ์

การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ต้องออกแบบให้จำง่าย มีลักษณะที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์ เช่น การออกแบบด้วยกราฟิกที่สะดุดตา เมื่อกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคได้รับฟังโฆษณามาบ้าง หรือมองเห็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ ก็สามารถรับรู้หรือจดจำได้ ณ จุดที่ขายโดยไม่ต้องให้กลุ่มลูกค้าสอบถามจากพนักงานหรือมองหา

2. การออกแบบให้สะดวกต่อการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย

การพัฒนาของเทคโนโลยีและความทันสมัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การติดต่อสื่อสารทำได้กว้างไกลและไร้พรมแดน การจัดจำหน่ายสินค้าทำได้หลากหลายช่องทางและหลายรูปแบบ ธุรกิจออฟไลน์และออนไลน์ ถูกประยุกต์ผสมผสานการจัดจำหน่ายเข้าด้วยกัน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ จึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม อาจออกแบบโดยเพิ่มหรือลดปริมาณต่อหน่วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง สะดวกต่อกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้อปลีกและซื้อปริมาณมาก เช่น ออกแบบกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกดฟูก สำหรับบรรจุสินค้าทั้งปลีกและส่ง และสามารถจัดโปรโมชั่นหรือจัดกิจกรรมในการจำหน่ายได้ง่าย ตัวอย่างเช่น จัดสินค้าเป็นแพ็ค เพื่อรับส่วนลด

3. ออกแบบบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า

การส่งเสริมกิจกรรมด้านการตลาด แม้จะจัดจำหน่ายสินค้าประเภทเดียว แต่การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบใหม่ๆ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้า เจาะตลาดใหม่ก็มีความสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างยอดขาย หรือนอกจากการออกแบบและเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อให้ได้รูปแบบที่แตกต่าง บางครั้งก็จำเป็นต้องเปลี่ยนตราสินค้าใหม่ด้วย

4. ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อต่อยอดสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่

การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมด้านการตลาดที่สามารถสร้างยอดขายและพัฒนาต่อยอดองค์กรธุรกิจให้เติบโตได้อย่างเห็นผล ก็คือเมื่อมีการปรับเปลี่ยนการใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกหรือออกแบบผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นของแบรนด์โดยเฉพาะ และมีการผลิตสินค้าชนิดใหม่ๆซึ่งต่อยอดจากสินค้าเดิม สามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์เพียงรูปแบบเดียวแต่ใช้สีใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับตัวสินค้าแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น พัฒนาต่อยอดสินค้าตัวใหม่จากการจำหน่ายพริกแกงเขียวหวาน ปรับเพิ่มเป็น พริกแกงเขียวหวานสูตรปักษ์ใต้ ซึ่งการคงตราสินค้าและรูปแบบบรรจุภัณฑ์ไว้เปลี่ยนเพียงสีและลวดลายของกล่องกระดาษหรือโลโก้ เป็นการรักษาความสัมพันธ์ของกลุ่มลูกค้าเดิมไว้และสร้างฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นมา

5. การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ในลักษณะส่งเสริมการขาย

การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ประเภท กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องพิซซ่า / กระดาษรองอาหาร กล่องไฮบริด และอื่น ๆ เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ เป็นการเน้นให้กลุ่มผู้บริโภครับรู้ว่ามีการเพิ่มปริมาณสินค้า หรือมีการจัดจำหน่ายโดยบรรจุเป็นแพ็ค มีการลดราคาสินค้า หรือการแถมสินค้า เนื่องจากรายละเอียดที่ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ มีส่วนกระตุ้นให้ผู้บริโภคต้องการซื้อได้โดยยังไม่มีความจำเป็นต้องซื้อ

6. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีตราสินค้า

ตราสินค้าช่วยสร้างการจดจำที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกให้มีตราสินค้าหรือมีโลโก้ของแบรนด์ติดไว้อย่างชัดเจน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น

7. การออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกโดยการเปลี่ยนรูปทรงและขนาด

กิจกรรมส่งเสริมการขายอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่อาจไม่ได้ให้ความสำคัญ ก็คือ โดยปกติสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะมีวัฎจักรของสินค้า หมายถึง รูปแบบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์เมื่อถึงช่วงหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือเปลี่ยนโฉมของบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุของวัฎจักรในบางกรณี การเปลี่ยนรูปทรงและขนาดให้ดูแปลกใหม่ เช่น การออกแบบกล่องกระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม โดยอาจออกแบบให้เป็นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ ใช้วัสดุจากธรรมชาติที่คิดค้นและวิจัยขึ้นมาใหม่ มีขนาดเล็กลงหรือใหญ่ขึ้น ถือเป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมการขายได้ทั้งสิ้น

แนวทางการการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

การออกแบบออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่นอกจากส่งเสริมด้านการตลาดทำให้แบรนด์สินค้าเป็นที่จดจำด้วยการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรธุรกิจ ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญและมีขั้นตอนการออกแบบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการและองค์กรธุรกิจ ดังนี้

1. การออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มีส่วนประกอบที่เหมาะสม

แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ปัจจัยแรกได้แก่การลดส่วนประกอบในการออกแบบให้มีความเหมาะสม ใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์อย่างมีคุณค่าและยังเป็นการลดปริมาณขยะไปในตัว เช่น พิจารณาถึงความเหมาะสมของส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อาจลดลงได้ ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ฟิล์มห่อหุ้มแต่ละชั้น ป่ายห้อยข้างบรรจุภัณฑ์ สติกเกอร์ และเทปกาวที่ปิดฝากล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก และบรรจุภัณฑ์อื่น ๆ

2. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีน้ำหนักเบา

การออกแบบทำให้บรรจุภัณฑ์มีน้ำหนักเบา ด้วยการลดปริมาณวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ให้น้อยลง  เป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรงโดยที่บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นยังทำหน้าที่ปกป้องสินค้าได้ดีเท่าเดิม

3. การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ได้

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ ก็คือการทำให้บรรจุภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่ยาวขึ้น เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง การนำกลับมาใช้ใหม่เป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้การออกแบบและเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงทนทานต่อการนำกลับมาใช้ใหม่

4. การออกแบบเพื่อให้นำกลับมาผลิตใหม่

การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในลักษณะนี้ เป็นการออกแบบเพื่อนำชิ้นส่วนบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องกระกาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กระดาษฝอย กระดาษรองกล่อง กล่องไฮบริด กล่องเก็บเอกสาร  กล่องใส่เอกสาร กระดาษลูกฟูกม้วน 2 ชั้น และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ กลับมาทำใหม่หรือเข้าเข้ากระบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกแบบใหม่ ๆ ออกมาใช้ แนวทางนี้จะเป็นวิธีป้องกันไม่ให้มีขยะบรรจุภัณฑ์หรือทำให้ขยะลดน้อยลง เป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการกำจัดขยะหลังจากใช้แล้ว

5. การออกแบบเพื่อให้นำไปรีไซเคิลใหม่

การรีไซเคิลเป็นการนำเอาบรรจุภัณฑ์ไปแปรรูปใหม่ โดยผู้ออกแบบจะมีแนวทางในการออกแบบเพื่อให้เหมาะสำหรับการนำไปรีไซเคิล ซึ่งขั้นตอนการออกแบบจะพิจารณาเลือกใช้วัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน จะช่วยให้สะดวกต่อการนำไปรีไซเคิล

6. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ให้สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย

สำหรับแนวทางการการออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ให้สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย การออกแบบสามารถพิจารณาขั้นการกำจัด 3 แนวทางต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบ

  1. การหมักขยะให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมให้สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย ที่นักออกแบบพิจารณาจากองค์ประกอบในข้อนี้ คุณสมบัติของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ จะต้องมีส่วนผสมหรือมาจากสารอินทรีย์ เช่น กระดาษ ไม้ พลาสติกที่ย่อยสลายได้เพราะทำจากแป้ง เช่น กล่องไฮบริด ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์กระดาษมีฝาพลาสติกปิด และสามารถย่อนสลายได้ทางชีวภาพ
  2. การนำขยะไปถมที่เพื่อให้ขยะสลายตัวเอง การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมให้สามารถกำจัดทิ้งได้อย่างปลอดภัย ได้แก่การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เป็นวัสดุหลัก เนื่องจากขยะจะถูกย่อยสบายด้วยจุรินทรีย์ การย่อยสลายจะทำได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเกิดความชื้น
  3. การเผาทำลายขยะ เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยการทำลายขยะที่สามารถนำพลังงานกลับมาใช้ได้อีก และการออกแบบต้องคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่นำไปเผาทำลายแล้ว เกิดมลภาวะทางอากาศได้น้อยที่สุด

7.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับสินค้าโดยเฉพาะ

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ นักออกแบบหรือผู้ประกอบการที่พิจารณาถึงลักษณะของสินค้าควบคู่ไปด้วย จะพบว่าสามารถลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ลงได้ หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้า เช่น การออกแบบกล่องกระดาษ  กล่องกระดาษลูกฟูก หรือกล่องกระดาษฝาปิด สำหรับบรรจุสินค้าประเภทผักผลไม้ ให้เป็นการใช้กระดาษลูกฟูกหรือลอนกระดาษลูกฟูกเพื่อใช้หีบห่อแทน

ลักษณะและรูปแบบบรรจุภัณฑ์กระดาษ

กระดาษเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่นิยมนำมาออกแบบเป็นบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกได้หลากหลายประเภทและหลายรูปแบบ ด้วยคุณสมบัติของกระดาษที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก กล่องกระดาษใส่ขนม กล่องกระดาษใส่อาหาร และอื่น ๆ เพื่อใช้ทดแทนกล่องโฟมและพลาสติก ได้อย่างมีคุณภาพ และยังมีต้นทุนต่ำ น้ำหนักเบา สะดวกต่อการจัดพิมพ์ลวดลายหรือออกแบบหรือการปรับเปลี่ยนรูปทรงให้เหมาะสมกับสินค้าได้ง่าย ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษ มีหลายรูปแบบ อาทิเช่น

  1. กล่อง ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งแบบพับ และกล่องกระดาษแข็งแบบตายตัว เช่น กล่องเก็บเอกสาร กล่องใส่เอกสาร กล่องพัสดุ กล่องไปรษณีย์ กล่องพิซซ่า กล่องไก่ทอด กล่องหมูทอด กล่องไฮบริด กล่องใส่อาหาร และกล่องที่ออกแบบให้เหมาะสมกับสินค้าโดยเฉพาะ ตัวอย่างกล่องใส่ผักผลไม้
  2. ถุงและซองกระดาษ วัสดุที่นำมาออกแบบและผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ กระดาษดราฟท์ ประโยชน์ในการนำไปใช้เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องอุปโภคบริโภค ปัจจุบันยังนิยมออกแบบเพื่อใช้สำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เนื่องจากถุงหรือซองกระดาษยังสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่แสดงเอกลักษณ์และรายละเอียดของสินค้าและแบรนด์ แสดงชื่อหรือที่อยู่ของผู้ผลิตได้ง่าย

คุณสมบัติของกระดาษสำหรับออกแบบบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

กระดาษเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่ได้จากเยื่อไม้ในรูปของเส้นใยต่าง ๆ จากพืชและไม้เศรษฐกิจ สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มนิยมใช้เส้นใยที่ผลิตขึ้นมาใหม่ ส่วนบรรจุภัณฑ์บางประเภท เช่น กล่องกระดาษ กระดาษฝอย พาเลทกระดาษ ถาดใส่แก้ว กล่องเก็บเอกสาร และกล่องใส่เอกสาร อาจใช้เยื่อกระดาษเก่าจากการรีไซเคิล ซึ่งการนำมาใช้ออกแบบขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าเป็นสำคัญ คุณภาพของบรรจุภัณฑ์กระดาษขึ้นอยู่กับเส้นใยที่นำมาเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ ดังนี้

  1. ความยาวของเส้นใย ซึ่งเส้นใยที่ใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก มีทั้งชนิดสั้นและยาว ความยาวของเส้นใยจะมีผลต่อคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์กระดาษ
  2. ชนิดของเส้นใย เส้นใยจากธรรมชาติ ที่นำมาเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก จะมีทั้งเส้นใยยาวและเส้นใยสั้น ซึ่งทั้ง 2 ชนิด ทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษมีความแตกต่างกัน ดังนี้
    • เส้นใยสั้น จะมีความยาวประมาณ 18 นิ้ว หรืออยู่ในช่วง 2-46 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติทั้งหมด คุณภาพของเส้นใยชนิดนี้จะวัดจากความละเอียดของเส้นใย เพราะเส้นใยที่มีความละเอียดมากหรือเส้นเล็ก จะทำให้บรรจุภัณฑ์กระดาษมีคุณภาพที่ดีกว่า
    • เส้นใยยาว  เส้นใยชนิดนี้จะมีความยาวต่อเนื่องไม่สิ้นสุด และเส้นใยยาวส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ที่ผลิตในอุตสาหกรรม
  3. ขนาดของเส้นใย ขนาดของเส้นใยทำให้คุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์มีคุณภาพที่แตกต่างกัน เส้นใยที่เล็กจะทำให้ได้เนื้อกระดาษที่ละเอียด เหมาะสำหรับการจัดพิมพ์ และมีคุณภาพ

ประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม นอกจากการออกแบบจะเลือกใช้กระดาษซึ่งเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เป็นวัสดุหลักเพื่อง่ายต่อการกำจัดขยะ เพราะสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ นำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและสามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยการนำไปเข้ากระบวนการผลิตหรือรีไซเคิล นักออกแบบหรือผู้ประกอบการยังต้องพิจารณาถึงประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้ เช่น

  1. สามารถป้องกันความชื้นได้ดี หมายถึงไอของความชื้นจะไม่สามารถผ่านได้เลย เช่น กล่องไก่ทอด กล่องหมูทอด กล่องพัสดุ หรือกล่องไปรษณีย์ เป็นต้น
  2. ต้านความชื้นได้ดี หมายถึง สามารถป้องกันความชื้นได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือไอความชื้นสามารถซึมผ่านได้ในระยะยาว
  3. อากาศผ่านได้ หมายถึง บรรจุภัณฑ์ประเภทถุงกระดาษ หรือกล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก สำหรับบรรจุสินค้าบางประเภทที่ต้องระบายความร้อนหรือความอับชื้นเพื่อไม่ให้สินค้าเน่าเสีย เช่น ผัก ผลไม้
  4. กระดาษที่นำมาออกแบบและผลิตมีคุณสมบัติในการต้านไขมันหรือน้ำมันได้เป็นอย่างดี
  5. กระดาษต้องมีความหนาและ มีน้ำหนักที่ได้ตามมาตรฐาน
  6. กระดาษที่นำมาออกแบบและใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ จะต้องมีความแข็งตัวหรือมีความคงทนต่อการโค้งงอ
  7. กระดาษมีคุณสมบัติในการต้านแรงฉีกขาดและทิ่มทะลุได้ดี กระดาษมีความเหนียว
  8. ความขาวสว่างของกระดาษ เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น แก้วกาแฟกระดาษ จานกระดาษ ถ้วยกระดาษ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมบนบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ทั้งกล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก และอื่น ๆ จะมีฉลากหรือสัญลักษณ์เพื่อสิ่งแวดล้อมพิมพ์ติดไว้ที่บรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมาตรฐานให้กับสินค้า และดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค นอกจากนั้น ฉลากสิ่งแวดล้อมยังเป็นกลไกการให้ข้อมูลที่ทำให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้เน้นคุณค่าทางสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO  ฉลากสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ( ISO14024)

ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 เป็นสัญลักษณ์ที่มอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด หลักการพิจารณาเพื่อมอบฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 โดยองค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจะใช้วิธีพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแบบตลอดวัฏจักรชีวิต สำหรับในประเทศไทยฉลากประเภทนี้ได้แก่ “ฉลากเขียว”

2.ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 ( ISO14021)

ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 เป็นฉลากที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้ส่งออก เป็นผู้บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตนเอง แสดงในรูปของข้อความ หรือสัญลักษณ์ รูปภาพ เช่น ระบุข้อความหรือสัญลักษณ์การนำกลับมาใช้ใหม่ไว้ที่ กล่องกระดาษ กล่องกระดาษลูกฟูก และจะไม่มีองค์กรกลางในการดูแล แต่ทางผู้ผลิต จะต้องสามารถหาหลักฐานมาแสดงเมื่อมีคนสอบถาม ดังนั้น ฉลากประเภทนี้ผู้ผลิตสามารถทำการศึกษาหรือประเมินผลได้ด้วยตนเอง

3.ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 ( ISO14025)

ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 จะบ่งบอกถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม ฉลากประเภทนี้จะมีหน่วยงานอิสระหรือองค์กรกลางทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะแสดงข้อมูลไว้ที่บรรจุภัณฑ์

บทสรุป

บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกับวิธีการออกแบบเพื่อส่งเสริมการขาย เกิดจากการรับรู้ของสังคมว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และรับรู้ว่าการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดปริมาณขยะ ทำให้องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และผู้ประกอบการรายย่อยมีความตระหนักต่อการออกแบบและเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่นอกจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติแล้ว ยังศึกษา วิจัย คิดค้น และออกแบบให้เกิดเป็นนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์และสามารถเพิ่มมูลค่าทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การออกแบบกล่องข้าวกระดาษ กล่องกระดาษใส่อาหารที่สามารถอุ่นในไมโครเวฟได้ แก้วน้ำกระดาษ แก้วกาแฟกระดาษ หรือบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทำจากกระดาษที่สามารถใส่อาหารได้ทั้งร้อนและเย็น การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกทั้งแบบสำเร็จรูปที่โรงงานผลิตออกมาวางจำหน่ายและสั่งผลิตตามรูปแบบที่ผู้ประกอบการหรือองค์กรธุรกิจต้องการ ยังเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ส่งเสริมการขายและสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ช่วยให้สินค้าเป็นที่จดจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ