การสานชะลอมเป็นการนำตอกไม้ไผ่มาสานขัดกันแบบโปร่ง ๆ เป็นลายเฉลว ค่อย ๆ เพิ่มตอกเข้าไปทีละเส้นจนได้พื้นหรือส่วนก้นของชะลอมเป็นรูป 6 เหลี่ยม สานต่อจนได้ความสูงตามต้องการที่ปากชะลอมจะเหลือตอกไว้ สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายใน และใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย ในอดีตชะลอมใช้ใส่ของแห้งต่างๆ สำหรับเดินทาง ในปัจจุบันมีการสานชะลอมประยุกต์โดยสานเป็นใบเล็กๆ สำหรับใส่ของชำร่วย ใส่ขนม หรือสารเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นเอกลักษณ์ไทย

ยุคหิน มนุษย์ใช้บรรจุภัณฑ์ เพื่อจุดประสงค์ ใด
ประวัติความเป็นมาของบรรจุภัณฑ์ไทย และการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมการค้นพบการใช้บรรจุภัณฑ์ในอดีต จากหลักฐานเชื่อว่ามนุษย์หินเป็นชนกลุ่มแรกที่ค้นพบจากความบังเอิญ โดยการนำดินเหนียวมาปั้นและม้วนยืดเป็นเส้นยาวแล้วขดวางซ้อนกันเป็นวงกลมตามแนวความสูงเพื่อใช้เป็นภาชนะ เมื่อนำไปเผาด้วยฟืนทำให้ได้ภาชนะสำหรับบรรจุน้ำที่ไม่รั่วซึม จากความบังเอิญจึงกลายเป็นจุดกำเนิดบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่ใช้ต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้พัฒนามาตามลำดับ จนทำให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมากมากมาย สำหรับประเทศไทย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ หรือมีการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อนำมาใช้ในวิถีชีวิต ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานจากหลักศิลาจารึกเป็นประโยคหนึ่งที่จารึกว่า “ใครใคร่ค้า ค้า” และ “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า มีการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อใช้ในวิถีชีวิต อันได้แก่